เราต่างคนรู้กันดีว่าชาวญี่ปุ่นในแต่ละจังหวัดมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อาหารเองก็เช่นกันในแต่ละจังหวัดก็จะมีของดีของเด่นที่อร่อยๆมากๆและห้ามพลาดที่ได้ลิ้มลอง สำหรับเกียวโตเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องการท่องเที่ยวไม่เป็นรองใคร อาหารก็อร่อยไม่แพ้ที่ไหนเหมือนกัน แต่ทุกครั้งที่เที่ยวเกียวโต หรือเพื่อนๆของโอคเวลามาเที่ยวที่นี่ก็จะได้ยินคำถามเดิมๆเสมอคือเที่ยวเกียวโตกินอะไรดี แนะนำร้านอาหารหน่อยสิ วันนี้โอคซังจึงจะมาตีแผ่ถึงเรื่องอาหารแบบดั้งเดิมและขึ้นชื่อมากๆของชาวเกียวโตกันค่ะ ใครที่มาถึงเกียวโตแล้วจะได้บอกกับใครๆได้ถูกว่าได้ลองอาหารขึ้นชื่อของจังหวัดนี้มาแล้วนะจ้ะ
ตัวอย่างอาหารตามฤดูกาล
ด้วยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีฤดูกาลชัดเจน พืชผลการเกษตรก็เช่นกันหากกินถูกต้องตามฤดูกาลแล้วหล่ะก็ จะอร่อยขึ้นเป็นทวีคูณเชื่อโอคค่ะลองมาแล้ว
ฤดูใบไม้ผลิ
Kyo Takenoko หรือหน่อไม้(กลางเดือนมีนาคม-ต้นเดือนพฤษภาคม) เป็นส่วมผสมหลักในช่วงใบไม้ผลิของชาวเกียวโต ใช้ทำอาหารมื้อเย็น ใช้ทำเท็มปุระ สลัด และหุงพร้อมข้าว
Kyo Fuki หรือ บัตเตอร์เบอร์ (เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม) เอาจริงๆไม่คุ้นเลยกับพืชอันนี้ พืชชนิดนี้เป็นพืชตระกูลเดียวกับทานตะวันช่วยลดอาการไมเกรนด้วยนะคะ ใช้ทั้งส่วนราก ใบ ดอกในการทำอาหารส่วนใหญ่จะใช้วิธีต้ม(อารมณ์ผักลวกเมืองไทยแต่น้ำจิ้มแซ่บไม่เท่า)
ฤดูร้อน
Kamo Nasu หรือมะเขือม่วง (เดือนพฤษภาคม-กันยายน) สำหรับคนเกียวโตคิดว่ามะเขือม่วงคล้ายกับผลไม้ที่มีความฉ่ำหวานข้างใน นิยมนำมาใส่ในซุปมิโซะพร้อมเต้าหู้ ทำให้ซุปโซะหวานมากๆ
Shishigatani Kabocha หรือฟักทอง (เดือนกรกฎาคม-กลางสิงหาคม) ถ้าใครเคยทานฟักทองของญี่ปุ่นโดยเฉพาะในหน่อร้อนเกียวโตจะลืมฟักทองที่เคยทานมาทั้งชีวิตเลยค่ะเพราะหวานมันสุดๆ โอคซังคือหนึ่งคนที่ไม่ชอบฟักทองมากๆแต่ยอมแพ้และทานฟักทองของที่นี่ได้ นิยมนำมาต้ม ผัด หรือทำเป็นเทปุระค่ะ
Hamo หรือปลาไหล (เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม) ถ้าเป็นจังหวัดอื่นจะมีปลาไหลให้ทานกันอยู่บ่อยๆ แต่สำหรับเกียวโตปลาไหลถือว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยากมากแต่เมื่อถึงฤดูนี้กลับได้รับความนิยมในการทาน โดยชาวเกียวโตจะใช้วิธีการนึ่งเพื่อทานค่ะ
ฤดูใบไม้เปลี่ยนสีแดง หรือฤดูใบไม้ร่วง
Tamba Kuri หรือเม็ดเกาลัด (ต้นเดือนกันยายน-ตุลาคม)นิยมนำมาหุงพร้อมกับข้าวทำให้ได้ข้าวสวยเกาลัดอะไรประมาณนั้นค่ะ
Kujonegi หรือต้นหอม (ตลอดปี)แหมพอนึกถึงต้นหอมที่ไทยเรามีเกลื่อนกลาดมากค่ะมองไปทางไหนก็เจอ ที่ญี่ปุ่นเองก็เช่นกันแต่ราคาและรสชาติต่างกันมาก ต้นหอมแบบไทยจะมีความเผ็ดมากกว่า แต่ต้นหอมญี่ปุ่นมีความหวานมากกว่า ถึงแม้ว่าต้นหอมจะมีขายอยู่ตลอดปีแต่กลับได้รับความนิยมในการกินคือช่วงใบไม้ร่วง เพราะถูกเอามาใส่ในซุปมิโซะนั้นเองช่วงนี้อากาศเริ่มเย็นชาวเกียวโตต้องการความอบอุ่นค่ะ
Sabasushi หรือซูชิหน้าปลาซาบะ (ตลอดปี) แต่ที่พลาดไม่ได้ในเดือนนี้เพราะซูชิหน้าปลาซาบะถูกนพมาเป็นตัวชูโรงชายในช่วงเทศกาล Jidaiในเดือนตุลาคมของชาวเกียวโตนั่นเอง
ฤดูหนาว
Shogo-in Kabu หรือหัวผักกาด(เดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์) ในช่วงหน้าหนาวแบบนี้ชาวเกียวโตนิยมทำเป็นซุปหัวไชเท้าหรือ หัวไชเท้าดองก็อร่อยมากๆ
Kintoki Ninjin หรือแครอท (ต้นเดือนพฤศจิกายน-มกราคม) แครอทของญี่ปุ่นหวานอย่าบอกใคร โดยเฉพาะแครอทในเกียวโตจะเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีสีส้มเข้มจนเกือบแดงโดยแครอทจะนิยมนำมาทำอาหารช่วงปีใหม่แบบสุดๆ
Yodofu หรือเต้าหู้ต้ม (ตลอดปี) เต้าหู้ต้มก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ขึ้นชื่อตลอดปีของเกียวโตมากๆ แต่จะเป็นที่นิมยมมากในช่วงหน้าหนาวเพราะใส่ซุปทานอุ่นๆแล้วจะอร่อยเป็นพิเศษ
ควรกินอะไรก่อนเป็นอันดับแรก คิดไม่ออก?
แหล่งร้านอาหารชั้นเลิศของเกียวโตอยู่ไหน
ร้านอาหารในเกียวโตแพงแน่ๆเลย!
ร้านอาหารในเกียวโตมีกี่แบบ?
ร้านอาหารในเกียวโตแบ่งเป็น 2แบบใหญ่ๆด้วยกันคือ
1.ร้านอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ที่เกิดจากเซฟใหม่ๆมากฝีมือตั้งใจเปิดร้านสร้างสรรค์อาหารทั้งแบบญี่ปุ่นแท้ๆหรือแบบฟิวชั่นก็มี เน้นการตกแต่งร้านแบบใหม่แบบเก่าผสมผสานกัน
2.ร้านอาหารแบบบ้านเก่าโบราณหรือโอคซังขอเรียกว่า”ตึกแถวญี่ปุ่น” ที่ยังคงรักษาความเก่าแก่ดั้งเดิมไว้ทั้งหมดทั้งอาหาร พ่อครัว มีการสืบทอดตำนานอาหารจากรุ่นสู่รุ่นนานมากกว่าร้อยปีก็มี หรือตึกแถวญี่ปุ่นโบราณเหล่านี้บางร้านได้ถูกรีโนเวทข้างในเป็นทั้งร้านอาหารอิตาลี ฝรั่งเศส คาเฟ่ ร้านไอติม อีกมากมายค่ะ แต่โดยรวมภาพลักษณ์ก็ยังคงมีความเป็นบรรยากาศแบบญี่ปุ่นโบราณเกียวโตสไตล์มากๆ
สรุปเที่ยวเกียวโตแล้วควรกินอะไรในเวลาไหนดีไปเชคกันเลย!
เต้าหู้ต้ม Yudofu
เป็นอาหารที่สามารถทานได้ทุกฤดูอย่างที่ได้บอกไปแล้วข้างต้น แต่เราจะมาลงลึกกันอีกสักหน่อย ที่เต้าหู้ต้มเป็นอาหารอันดับหนึ่งที่แนะนำให้หลายๆคนไปทานเพราะเต้าหู้ต้มในสมัยก่อนถือว่าเป็นขั้นสูงเพื่อสุขภาพที่ได้รับการปรับปรุงสูตรจากในวัดญี่ปุ่น(ไม่ใช่ในวังนะคะอย่าเข้าใจผิด) เป็นอาหารที่เรียบง่ายเสิรฟพร้อมกับเซตผักเพื่อสุขภาพพร้อมๆกับชมสวยสไตล์zenในวัด ดังนั้นการทานอาหารในเซตเต้าหู้ต้มจึงเป็นเหมือนการผ่อนคลายจิตใจไปด้วยใช้ว่าลามากกว่า1ชั่มโมงแน่ๆ ดังนั้นใครที่กำลังวางแผนทานอาหารพร้อมชมสวนก้วยแล้วจะต้องเผื่อเวลากันให้ดีๆนะคะ
ทานได้ในเวลากลางวัน, เย็น
ข้าวดง ราเมง และโซบะ
ก๋วยเตี๋ยวแบบญี่ปุ่นมีความพิเศษที่ตัวเส้นและน้ำซุปที่แต่ละร้านมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่วนอาหารจำพวกข้าวหน้าหมู ไก่ ไข่ต่างๆในชามลักษณะกลมทางญี่ปุ่นจะมีลงท้ายด้วยคำว่าดง(don)ถือว่าเป็นอาหารหนักอิ่มท้อง มีความหลากหลาย ถ้าเทียบกับเมืองไทยก็เหมือนกับอาหารจานด่วนที่ไม่ต้องเสียเวลารอนานสั่งแล้วก็ได้ทานเลย
ทานได้ในเวลากลางวัน, เย็น, ค่ำ
อาหารสไตล์Obanzai
อาหารสไตล์Obanzaiคืออาหารจากร้านโฮมเมดสไตล์โฮมสเตที่เราสามารถเข้าไปนั่งทานผ่อนคลายได้เรื่อยๆสามารถนั่งคุยกับเจ้าของร้านได้ด้วย ซึ่งร้านแบบนี้มีให้เห็นอยู่มากในเกียวโตค่ะ เราจะได้เพลิดเพลินกับอาหารหลากหลายที่ทางร้านจัดให้ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเน้นผักและเต้าหู้เป็นส่วนประกอบอีกเช่นเคย จนมีคนหลายคนบอกว่า หากอยากหุ่นดีต้องทานอาหารแบบ Obanzai
ทานได้ในเวลาเย็น, ดึก เท่านั้น
ของหวานแบบชาเขียวแท้
เมนูขนมหวานชาเขียวของเมืองอุจิจังหวัดเกียวโตถือว่าเป็นชาเขียวที่เป็นต้นตำหรับและอร่อยอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ดังนั้นใครก็ห้ามพลาดต้องมาลิ้มลองให้ได้ มีทั้งไอศกรีม วัฟเฟิล โมจิชาเขียว และอีกหลากหลายเมนูที่โอคซังก็ไม่รู้จักชื่อเหมือนกัน แต่ทุกเมนูหวานหอมอร่อยจริงๆ
ทานได้ในเวลาเช้า, เที่ยง, บ่าย
ขนมหวานเกียวโตแท้ๆตามฤดูกาล
นอกจากชาเขียวที่สามารถหาทานได้ตลอดปีของเกียวโตแล้วยังมีขนมหวานตามฤดูกาลที่ห้ามพลาด ทานแล้วสามารถบอกต่อได้ชั่วลูกชั่วหลานว่ามาถึงเกียวโตในช่วงไหนได้ทานอะไร โดยในเกียวโตจะใส่ใจกับรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลสุดๆค่ะ เราจะสามารถเห็นขนมหวานของเกียวโตแต่ละร้านเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในแต่ละฤดูทำให้เราไม่เบื่อและรู้สึกถึงฤดูกาลใหม่ๆอยู่เสมอ เรียกได้ว่าขนมหวานของเกียวโตช่วยชาร์ตพลังชีวิตได้ค่ะ
ทานได้ในเวลาบ่าย
โอคซังหวังว่าจะช่วยแก้ข้อสงสัยของเพื่อนๆหลายๆคนที่ถามกันมาบ่อบๆเหลือเกินว่าทานอะไรดีในเกียวโตกันได้ไม่มากก็น้อยนะคะ ใครลองทานอะไรกันมาแล้วบ้างมาแชร์บอกกันได้นะคะ หากใครที่กำลังจะมาเที่ยวเกียวโตแล้วยังคิดเมนูอาหารมื้อค่ำไม่ออกแชร์บทความนี้เก็บกันไว้ได้เลย
แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้านะคะ มาตะเน้
COMMENTS