8ข้อควรรู้การใช้รถไฟท้องถิ่นของญี่ปุ่น

ใครที่ยังไม่เคยใช้รถไฟท้องถิ่นในญี่ปุ่น อาจจะสงสัยว่ามันแตกต่างจากรถไฟทั่วไปยังไง วันนี้โอคซังจะมาไขความลับการใช้งานรถไฟท้องถิ่นภายในญี่ปุ่นกันค่ะ

รถไฟท้องถิ่นอาจจะคิดว่าแตกต่างจากรถไฟในเมืองมากเลยใช่ไหม?

การขึ้นรถไฟญี่ปุ่น

คำตอบคือแทบจะไม่แตกต่างกันมากเลยค่ะขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ให้บริการ และท้องที่นั้นๆค่ะ ให้จินตนาการคล้ายกับเมืองไทยที่มีรถไฟฟ้ายี่ห้อ BTS กับ MRT ในญี่ปุ่นก็เป็นเช่นนั้นเช่นกัน บริษัทใหญ่ๆที่หลายคนรู้จักกันดีและเป็นผู้ให้บริการรถไฟเจ้าใหญ่คือ JR ที่มีเส้นทางอยู่เกือบทั่วประเทศญี่ปุ่น แต่ก็มีอีกหลายบริษัทในท้องถิ่นที่ทำรถไฟให้บริการเช่นกัน สิ่งที่แตกต่างจากเมืองไทยอย่างเห็นได้ชัด คือจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่ในบางครั้งอาจจะใช้จุดเปลี่ยนถ่ายเดียวกันได้เลยไม่ต้องเดินไกลๆย้ายที่หากเราเปลี่ยนขบวนรถจากอีกบริษัทไปขึ้นอีกบริษัท หรือหากแยกกันก็จะอยู่ไม่ห่างกันมากทำให้สะดวกต่อการต่อรถสุดๆ

รถไฟท้องถิ่นแต่ละที่จะมีเอกลักษณ์การตกแต่งที่แตกต่างกันค่ะแต่สิ่งพื้นฐานที่มีเหมือนกันคือ?

1.เมื่อรถเทียบชานชลาจะมีเนินสำหรับรถเข็นเสมอ

การขึ้นรถไฟญี่ปุ่น

ถ้าสังเกตกันให้ดีๆช่องว่างระหว่างพื้นทางเข้ากับประตูรถไฟแทบจะไม่มีเลยค่ะเพราะนี่คือการอำนวยความสะดวกกับผู้สูงอายุ คนพิการ หรือรถเข็นต่างๆ ทำให้สามารถเดินเข้าข้างในตัวรถไฟได้อย่างรวดเร็ว ในบางสายรถไฟอาจจะไม่มีทางเนินแบบนี้ดังนั้นหลายครั้งโอคซังก็จะเห็นเมื่อมีผู้พิการนั่งรถเข็นต้องการเข้าในตัวรถ เจ้าหน้าที่รถไฟจะเป็นคนที่วิ่งลงมานำกระดานมาวางเพื่อให้เข็นเข้าไปได้ เป็นการบริการถึงตัวเลยค่ะ เอาใจใส่ประชากรแบบจุใจ

2. มีราวจับ หรือราวโหน

การขึ้นรถไฟญี่ปุ่น

ไม่รู้ว่าโอคซังจะเรียกว่าอะไร เพราะนี่คือสิ่งพื้นฐานที่ทุกที่จะมี ย้ำว่านี่คือรถไฟท้องถิ่นข้ามจังหวัด อำเภอหรือตำบลนะคะ ไม่ได้มีแต่เฉพาะในเมืองหลวงเท่านั้น โอคซังชอบราวจับที่นี่เพราะหนึบดีค่ะไม่ไถลไปไหนจับก็ไม่เจ็บมือ ถ้าใครห่วงเรื่องความสะอาด สามารถมองหาแอลกอฮอลตามสถานีปลายทางได้นะคะ ส่วนใหญ่จะมีแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือไว้บริการอีกด้วย

3.มีที่นั่งสำหรับเด็ก คุณแม่ และคนพิการไว้บริการ

การขึ้นรถไฟญี่ปุ่น

ที่นั่งที่มีสัญลักษณ์แบบนี้ต้องยกให้คนเหล่านี้นั่งไปค่ะ แต่ที่นั่งอื่นๆนั่งกันได้ตามปกติ โดยส่วนใหญ่ในสังคมญี่ปุ่นเท่าที่โอคสัมผัสมาก็มีทั้งคนที่รักษากฏระเบียบไว้อย่างดีหรือบางคนก็นั่งที่รนั่งก็คนแก่ก็มีนะคะ โอคเคยเจอคนเจอยืนด่าทอหญิงสาวที่นั่งในที่คนแก่ด้วยค่ะ ตะโกนกันแบบเสียงดังน่ากลัวสุดๆ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยโอคขอไม่ยุ่งกับที่นั่งเหล่านี้

4. ตารางป้ายสถานีอยู่เหนือประตูรถไฟ

การขึ้นรถไฟญี่ปุ่น

หากใครเข้ามาในรถไฟแล้วไม่แน่ใจว่าเราขึ้นผิดสายหรือสงสัยว่าอีกกี่สถานีจะถึงที่หมายเราสามารถเชคชื่อป้ายสถานีได้จากป้ายด้านบนของประตูทางเข้าออกของรถไฟค่ะ ส่วนใหญ่จะมีเขียนบอกเป็นภาษาอังกฤษเอาไว้ แต่ถ้าเป็นภาษาญี่ปุ่นล้วนให้ลองย้ายเดินไปโบกี้ด้านหน้าหรือด้านหลังดูนะคะว่ามีภาษาอังกฤษไหม ถ้ายังไม่เจอต้องอาศัยการฟังด้วยหูและภาวนาไม่ให้หลงอย่างเดียว ซึ่งเคสการหลงแบบนี้โอคซังยังไม่เคยเจอค่ะ มากสุดก็แค่นั่งผิดสายเลยข้ามอำเภอแล้วค่อยนั่งย้อยกลับมา

5.ในรถไฟมีทั้งแอร์ มิตเตอร์ และพัดลมในคันเดียวกัน

การขึ้นรถไฟญี่ปุ่น

ไร้ความกังวลเรื่องการขึ้นรถไฟแบบแยกชนชั้นเป็นแบบแอร์ แบบพัดลมต่างๆ แต่รถไฟท้องถิ่นของที่รวมมาให้แล้วแบบ3 in 1 มีการปรับอุณหภูมิตามฤดูกาลให้เรารู้สึกสบายอยู่เสมอ

จา โอคซัง
จา โอคซัง

โอคซังจำได้ดีตอนที่มาอยู่ญี่ปุ่นแรกๆพยายามถามหารถไฟแบบเปิดหน้าต่างได้ขอลมโกรกๆหน่อยเพราะหายใจไม่ออก จนมีความพยายามในการเปิดหน้าต่างแต่ก็โดนแฟนตอนนั้น(สามีตอนนี้)ห้ามไว้ เพราะไม่มีใครเขาทำกัน เสียใจมากเลย

6.มีที่พิงหลัง

การขึ้นรถไฟญี่ปุ่น

รถไฟบางสายหากเจอหลังเก้าอี้ที่มีเหมือนอะไรนุ่มๆแปะลอยๆอยู่นั้นคือที่พิงหลังค่ะ นี่คือความใส่ใจในการออกแบบอีกหนึ่งอย่าง แทนที่คนจะยินพิงเจ็บหลังเปล่าๆก็สามารถพิงได้แบบไม่ปวดหลังด้วยนะ

7.สุนัขนำทางสามารถขึ้นรถไฟได้

การขึ้นรถไฟญี่ปุ่น

สุนัขนำทางผู้พิการทางสายตาได้นับอนุญาตสามารถขึ้นรถไฟได้ค่ะ หากเราเจอน้องเข้ามาในรถแล้วเตือนอย่าเล่นกับน้องนะคะ เพราะน้องกำลังอยู่ในการปฏิบัติหน้าที่อาจจะทำให้น้องเสียสมาธิได้ค่ะ

8.อาจมีหรือไม่มีห้องน้ำบนรถ?

ห้องน้ำรถไฟญี่ปุ่น

บนรถไฟท้องถิ่นของญี่ปุ่นบางสายอาจมีห้องน้ำให้ใช้ ซึ่งหมายความว่าไม่ใช่ทุกสายจะมีดังนั้นก่อนขึ้นรถไฟท้องถิ่นแบบนั่ง1ชั่วโมงขึ้นไปโอคซังแนะนำให้เข้าห้องน้ำตั้งแต่ที่สถานีรถไฟรอไว้ก่อนเลย

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆผู้อ่านและสามารถเตรียมความพร้อมในการเที่ยวได้มากขึ้นนะคะ

เจอกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ มาตะเน้

COMMENTS